วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว

เขียนบทความโดย นาย เฉลิมวิทย์ ศรีสุวรรณ
Mr. Chalermwit SRISUWAN
ความหมายของการท่องเที่ยว

มีนักวิชาการหลายท่านเห็นพ้องต้องกันว่าการนิยามความหมายของคำว่าการท่องเที่ยวนั้นกระทำได้ยาก เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ (Recreation) ซึ่งคล้ายกับกิจกรรมทางการกีฬา หรืองานอดิเรก และการใช้เวลาว่าง นอกจากนี้เมื่อการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาตามมา ด้วยปัญหาดังกล่าว จึงมีการพยายามที่จะให้คำจำกัดความของคำว่าการท่องเที่ยวหลายครั้งจากทั้งนักวิชาการและองค์กรต่างๆ จนในปี พ.ศ.2506 ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลีและได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (IUOTO: The International Union of Official Travel organizations ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ.2513 : World Tourism Organization, WTO) ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้

-เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว -เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ -เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการหารายได้
จากนิยามความหมายของการท่องเที่ยวที่มาจากการประชุมในปีพ.ศ.2506 นั้นที่ประชุมได้ให้คำนิยามเรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor) ซึ่งจำแนกออกเป็น นักท่องเที่ยว (Tourist) และ นักทัศนาจร (Excursionist) -นักท่องเที่ยว คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง เพื่อกิจกรรมนันทนาการ สุขภาพ การกีฬา หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เป็นต้น -นักทัศนาจร คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน
อย่างไรก็ตาม การให้จำกัดความของทั้งสามคำด้านบนนั้น ยังไม่ครอบคลุมการเดินทางของบุคคลบางกลุ่มที่สามารถจัดเป็นการท่องเที่ยวได้ ในปีพ.ศ.2537 องค์การท่องเที่ยวโลก ได้เพิ่มเติมปรับปรุงนิยามของการท่องเที่ยวที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสถิติแห่งองค์การสหประชาชาติ ใน 2 ประเด็น ได้แก่
1.การท่องเที่ยว ประกอบด้วยกิจกรรมของผู้เดินทางไปยังสถานที่อื่นใดที่มิใช่ที่พักอาศัยปกติและมีการพักอาศัย ณ สถานที่นั้น ไม่มากไปกว่าหนึ่งปีอย่างต่อเนื่อง
2.การใช้แนวคิดที่กว้างนี้ทำให้มีความเป็นไปที่จะนิยมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกันการท่องเที่ยวภายในประเทศ การท่องเที่ยวหมายถึงกิจกรรมทุกๆ อย่างของผู้มาเยือนทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยว (ค้างคืน) และผู้มาเยือนแบบวันเดียว

มิวเซียมสยาม ดินแดนอาณาจักรของไทยที่เปิดกว้าง

มิวเซียมสยาม ดินแดนอาณาจักรของไทยที่เปิดกว้าง
ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงามจัดแสดง อาคารกระทรวงพาณิชย์เดิมภายในมิวเซียมสยามเป็นอาคาร 3 ชั้น มีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรทั้งหมด 17 ห้อง ภายใต้หัวข้อ "เรียงความประเทศไทย"

ภาพ อาคาร กระทรวงพาณิชย์เดิม

ส่วนการจัดแสดงของมิวเซียมสยาม
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์การจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ได้แก่

-เบิกโรง (Immersive Theater) -ไทยแท้ (Typically Thai) -เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi) -สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi) -พุทธิปัญญา (Buddhism) -กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya) -สยามประเทศ (Siam) -สยามยุทธ์ (War Room) -แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room) -กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya) -ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life) -แปลงโฉมสยามประเทศ (Change) -กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications) -สีสันตะวันตก (Thailand and the World) -เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today) -มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow)

ในการเข้าชมมิวเซียมสยามนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จะให้เริ่มชมจากชั้น 1 ต่อไปยังชั้น 3 และลงมาสิ้นสุดที่ชั้น 2

ชั้น 1 ประกอบด้วย

- เรื่อง ตึกเก่าเล่าเรื่อง ห้องจัดแสดงความเป็นมาของอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม การบูรณะซ่อมแซม รวมถึงการกลายเป็นมิวเซียมสยามในปัจจุบัน

-เบิกโรง ห้องฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อนำเข้าสู่การชมมิวเซียมสยาม ผ่านตัวละครต่าง ๆ -ไทยแท้ ห้องแสดงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของไทย พร้อมการไขว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นของไทยแท้หรือไม่

ชั้น 3 ประกอบด้วย -เปิดตำนานสุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงที่ตั้งของดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ชาติพันธุ์ในดินแดนนี้ และวิธีการขุดค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ -สุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ การติดต่อกับต่างประเทศ และหลักฐานประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ -พุทธิปัญญา ห้องแสดงหัวใจพระพุทธศาสนาและเรื่องราวที่แสดงถึงสัจจธรรม -กำเนิดสยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นมาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนสยาม และตำนานต้นกำเนิดกรุงศรีอยุธยา -สยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นอยู่ในสมัยอยุธยา และรูปจำลองเรือแบบต่าง ๆ ตั้งแต่เรือพื้นบ้านถึงเรือพระราชพิธี -สยามยุทธ์ ห้องแสดงรูปแบบการรบ กำลังพล และการทำสงครามในสมัยอยุธยา

ชั้น 2 ประกอบด้วย -แผนที่ : ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ ห้องแสดงแผนที่ประเทศไทยในสมัยต่าง ๆ -กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา ห้องแสดงเรื่องราวเมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งกรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของคนชาติต่าง ๆ ในสยาม และการเปรียบเทียบว่ากรุงรัตนโกสินทร์เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาอย่างไร -ชีวิตนอกกรุงเทพฯ ห้องแสดงวิถีชีวิตของคนในชนบทนอกกรุงเทพฯ โดยมีเรื่องข้าวเป็นหลัก -แปลงโฉมสยามประเทศ ห้องแสดงการเปลี่ยนแปลงสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 และเรื่องราวของถนนเจริญกรุง -กำเนิดประเทศไทย ห้องแสดงเรื่องราวในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย -สีสันตะวันตก ห้องแสดงวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทย -เมืองไทยวันนี้ ห้องอุโมงค์กระจกขนาดใหญ่ มีโทรทัศน์ขนาดเล็กรายล้อมทั่วห้อง -มองไปข้างหน้า ห้องสำหรับแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าชม ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนผนัง

ภาพ ชีวิตคนกรุงฯ ในสมัยก่อน

ถ้าอยากพบกับความสนุกต้องไปเที่ยวกันกับเพื่อน ๆ ให้มีความสนุกสุดเหวี่ยงกันไปเลย ที่ ถนน สนามไชย ตรงข้าวโรงเรียนวัดราชบพิธ ใกล้ๆ กับปากคลองตลาดที่เรารู้จักกันนั่นเอง

เขียนบทความโดย นาย เฉลิมวิทย์ ศรีสุวรรณ Mr.Chalermwit SRISUWAN

อ้างอิง http://www.ndmi.or.th/

พชรกร อนุศิริ, 'มิวเซียมสยาม' เล่าอดีตสยาม ค้นตำนานสุวรรณภูมิ, มติชน, 19 เมษายน พศ. 2551